ทำความรู้จัก Google Display Network

Panida
|Updated: Jan 3, 2024

 

Google Display Network รูปแบบหนึ่งของโฆษณา ที่จะสามารถทำให้ธุรกิจของคุณถูกรู้จักใจวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ในการลงโฆษณากับ Google นั้น สำหรับประเภทที่ยอดนิยมที่สุด ก็คงจะเป็น Google Search Network หรือการลงโฆษณาแบบค้นหานั่นเอง สามารถอ่านทำความเข้าใจในส่วนของ Google Search เพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : Google Search คืออะไร

ทั้งนี้ก็อาจจะมีน้อยคนที่ทราบว่า ประเภทการโฆษณาของ Google นั้น ยังมีอีกรูปแบบที่น่าสนใจมาก ก็คือ Google Display Network ซึ่งจุดเด่นของมันคือ มีความน่าสนใจกว่า สามารถดึงดูดใจลูกค้า และส่งต่อไปยังกลุ่มเป้าหมายในวงที่กว้างมากกว่า ฟังดูน่าสนใจใช่ไหมล่ะ? หากคุณเริ่มสนใจการทำ Google Display Network แล้วล่ะก็ ไปทำความรู้จักให้ลึกซึ้งกว่าเดิมได้เลย

 

Google Display Network คืออะไร ?

Google Display Network คือ การลงโฆษณาในรูปแบบของ Pay Per Click หรือการเสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีการคลิก ซึ่งอาจจะดูคล้ายกับ Google Adwords เพียงแต่ต่างกันตรงที่ตำแหน่งในการแสดงผล ถ้าเป็นของ Google Display จะปรากฎโฆษณาบนเว็บไซต์ที่เป็นพันธมิตรกับทาง Google โดยสามารถแสดงผลการโฆษณาทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามการรองรับของเว็บไซต์นั้นๆ 

Google Display Network ทำงานอย่างไร?

วิธีทำงานของ Google Display Network นั้น โดยทั่วไปถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการหากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม เช่น เว็บไซต์ที่พวกเขาชอบดู ความสนใจส่วนตัว เพศ อายุ การศึกษา สถานที่ หรือ แม้กระทั่งสภาพอากาศก็ตามที วิธีการทำงานของมันก็คือ คุณสามารถนำโฆษณาในหลากหลายรูปแบบ ไปฝากไว้กับเว็บไซต์ ที่เป็นพันธมิตรกับ Google ซึ่งคุณสามารถกำหนดเว็บไซต์เองได้ด้วย โดยในการที่จะลงโฆษณานั้นเราต้องดูด้วยว่าสินค้าของเราเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับอะไรเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับอะไร เพราะจะทำให้เราเลือกเว็บไซต์ที่จะไปลงโฆษณาได้ตรงตามความต้องการทั้งของเราเองและผู้ที่จะเข้ามาดูหรือซื้อโฆษณาของเราอีกด้วยและจะทำให้สินค้าของเรามีชื่อเสียงรวดเร็วและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายอีกด้วย ซึ่งถามว่าการลงโฆษณาแบบ Google Display Network สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไรบ้าง รายละเอียดมีดังนี้

 

Catagories – เราสามารถเลือกประเภทของเว็บไซต์ตามความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้เลย เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับรถ , เว็บไซต์ความสวยความงาม ฯลฯ 

Demographic – สามารถกำหนดข้อมูลด้านประชากรได้ ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ ที่ต้องการให้เห็นโฆษณาของคุณ

Location – กำหนดพื้นที่ ที่ต้องการแสดงโฆษณา เช่น คอนโดย่านสาทร ก็ตั้งให้นำส่งโฆษณาถึงคนละแวกใกล้เคียง 

Date and Time – สามารถกำหนดวันและเวลาของการนำส่งโฆษณาได้ เช่น เปิดให้โฆษณาทำงานทุกวันเวลา 8.00 – 18.00 น. 

Frequency – ความถี่ของโฆษณา เช่น ให้กลุ่มเป้าหมายเห็น Banner ของเราวันละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรำคาญมากจนเกินไป

ประโยชน์ของ Google Display Network

สร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ ด้วยการนำโฆษณาของเราไปติดในเว็บไซต์ต่างๆ ได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายเป็นแบบ Cost Per Impression (CPM) หรือ Cost Per Click (CPC) ก็ได้ ซึ่งเป็นราคาที่เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเราเอง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่า เราจะนำโฆษณาของเราไปปรากฏในเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในเรื่องแบบใดบ้าง

ค้นหาลูกค้าใหม่หรือดึงดูดลูกค้าที่มีอยู่โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย 

 

กลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกันและกลุ่มเป้าหมายที่มีแผนจะซื้อช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายไปยังผู้ที่มีแนวโน้มที่จะสนใจผลิตภัณฑ์มากที่สุด ซึ่งจะทำให้พบผู้มีโอกาสเป็นลูกค้ารายใหม่ๆ นอกจากนี้ คุณยังใช้ข้อมูล เช่น รายการรีมาร์เก็ตติ้งเพื่อช่วยดึงดูดผู้ที่เคยเข้าชมเว็บไซต์อีกครั้งได้ด้วย

เพิ่ม Conversion ด้วยระบบอัตโนมัติ 

การกำหนดเป้าหมายอัตโนมัติจะช่วยให้คุณได้รับ Conversion มากขึ้นด้วยการหากลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพสูงโดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่และหน้า Landing Page เมื่อใช้การเพิ่มประสิทธิภาพโดยอัตโนมัติไปเรื่อยๆ Google Ads ก็จะเรียนรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายใดเหมาะกับคุณ การเสนอราคาอัตโนมัติจะปรับราคาเสนอโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยให้คุณได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่คาดหวัง ส่วนแคมเปญสมาร์ทดิสเพลย์จะรวมจุดเด่นของการกำหนดเป้าหมายและการเสนอราคาอัตโนมัติ รวมถึงครีเอทีฟโฆษณาที่ดีที่สุดเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่ม Conversion ใน Google โดยการที่เราเอาภาพแบรนด์เนอร์ของเราไปแสดงไว้บนเว็บไซต์ต่างๆที่เป็นพันธมัตรของ Google (กูเกิล) โดยเราสามารถที่จะกำหนดผู้ที่จะเห็นโฆษณาของเราได้ตามดีมอกราฟฟิกเช่น เพศ ช่วงอายุ จังหวัด และเวลา โดยข้อดีของการลงโฆษณาแบบ GDN (จีดีเอ็น) ก็คือเราสามารถเลือกรูปแบบของการทำโฆษณาได้หลายรูปแบบ โดยเราสามารถเลือกเว็บไซต์ที่เราต้องการในการทำโฆษณา หาก

รูปแบบของโฆษณา Google Display Network

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การโฆษณาแบบ Google Display Network นั้น มีจุดเด่นคือ ทำโฆษณาด้วยรูปแบบที่หลากหลายมากกว่า Google Search Network ซึ่งก็มีหลายคนสงสัยว่า ทำแบบไหนได้บ้าง? ซึ่งรูปแบบการทำโฆษณาแบบ GDN นั้น ก็มีอยู่ 4 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

Text Ads

text ads gdn

Text Ads นั้นถือเป็นรูปแบบโฆษณาที่ทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว เรียกอีกอย่างได้ว่าโฆษณาแบบข้อความทั่วไป เป็นรูปแบบโฆษณาที่มีลักษณะเป็นข้อความตัวอักษร มีส่วนประกอบคือ  Headline, Website URL, รายละเอียดโฆษณาที่เป็นอักษร หากถามว่า แล้วมันต่างจาก Text Ads ทั่วไป ที่เราเห็นใน Google Search Network อย่างไร? Text Ads บน GDN นั้น จะต่างตรงที่ ตัวข้อความนั้น สามารถแสดงขึ้นที่ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นยูทูป เว็บไซต์พันธมิตรของ Google ซึ่งตัวเว็บไซต์เราสามารถเลือกได้ด้วยว่า เราอยากให้โชว์ในเว็บไซต์ใดบ้าง เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดนั่นเอง

โฆษณาแบบข้อความสั้นๆ ประกอบด้วย หัวข้อ เนื้อหา 2 บรรทัด และ URL

1. HEADLINE หรือ พาดหัว: สามารถใส่ข้อความได้ 25 ตัวอักษร

2. บรรทัดคำอธิบาย 1 : สามารถใส่ข้อความได้บรรทัดละ 35 ตัวอักษร

3. บรรทัดคำอธิบาย 2 : สามารถใส่ข้อความได้บรรทัดละ 35 ตัวอักษร

Image Ads / Banner ads  

Image Ads หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า โฆษณาแบบรูปภาพ ซึ่งสามารถเป็นภาพนิ่งหรือภาพแบบอินเทอร์แอกทีฟก็ได้ ทั้งยังสามารถใช้โฆษณาภาพเคลื่อนไหวรูปแบบ .gif และ Flash ได้ มีจุดเด่นคือสามารถแสดงภาพสินค้าและบริการของคุณได้บนโฆษณาเลย ซึ่งโฆษณาชนิดนี้จะเข้าถึงลูกค้าในเว็บไซต์ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูว่าเว็บไซต์ดังกล่าว สามารถรองรับขนาดไฟล์ใดได้บ้าง และหน้าที่ของเราคือ เตรียมไฟล์รูปแบนเนอร์ให้มีขนาดที่เหมาะสม ซึ่งขนาดมาตรฐานของ Image Ads นั้น ก็มีหลายขนาดด้วยกัน ทั้งยังขึ้นอยู่กับแต่ละเว็บไซต์อีกด้วย ซึ่งรายละเอียดของ Image Ads ที่คนทำโฆษณาควรทราบก็มีดังต่อไปนี้ 

รูปแบบไฟล์ที่สามารถใช้ได้ : .GIF, .JPG, .JPEG, .PNG, .SWF

ขนาดไฟล์จำกัด : ไม่เกิน 150 KB 

ขนาดโฆษณาที่รองรับ : 300 x 600 ,  250 x 250 , 120 x 600 , 160 x 600 ฯลฯ

Rich Media Ads

 

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของโฆษณาที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย ซึ่งสามารถเรียกว่าได้ว่าเป็นโฆษณาลักษณะ Interactive หรือ Animation ซึ่งจริงๆ แล้วหลักการทำงาน หรือการแสดงผลนั้น ก็จะมีความใกล้เคียงกับ Image Ads แทบไม่ต่างกันเลยทีเดียว แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ ว่า Rich Media น้ัน จะมีความน่าสนใจมากกว่า เนื่องจากสามาถที่จะเคลื่อนไหวได้ แม้จะมีการทำที่ยากกว่า แต่ก็ทำให้คุณสามารถส่งสารออกไปในโฆษณาได้มากกว่าในพื้นที่เท่ากัน เนื่องจากมันสามารถเคลื่อนไหวได้ คุณจะเปลี่ยนรูปกี่หน้าก็ได้ ขอแค่เพียงอยู่ในขนาดที่ทาง Google ได้กำหนดไว้นั่นเอง

Video Ads

 

โฆษณาแบบวิดีโอ ก็คือการสร้างโฆษณาในรูปแบบเคลื่อนไหว สำหรับใน Google Ad สามารถใช้รูปแบบ Video Campaign เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับกลุ่มลูกค้า ทั้งบน Youtube และ Website หรือ Application ที่เป็น partner ของ Google เอง ซึ่ง Video Ads ก็มีหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะ TrueView Video (โฆษณาที่จะจ่ายเงินเมื่อมีคนดู) , Bumpers ๖(รูปแบบ Video Ad สั้นๆ ไม่เกิน 6 Secs) และ Outstream Ads (รูปแบบ Video Ad ใน Mobile เท่านั้น )

ค่าใช้จ่าย Google Display Network

หลายคนที่ยังคุ้นเคยกับการลงโฆษณาแบบพื้นฐานหรือที่เรียกว่า Google Search Network นั้น อาจจะตั้งคำถามว่า แล้ววิธีจ่ายเงินของ Google Display Network ทำอย่างไรได้บ้าง มีวิธีคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร์ คำตอบก็คือมี 2 แบบดังนี้

จ่ายเงินแบบ Cost Per Click

cpc cost per click

Cost Per Click หรือเรียกแบบย่อๆ ว่า CPC นั้นเป็น Bid Strategy ที่เราคุ้นเคยกันดี เพราะมันหมายถึง การจ่ายเงินก็ต่อเมื่อมีคนคลิกโฆษณาเท่านั้น ถ้าไม่คลิก ก็จะไม่เสียเงิน ซึ่งลักษณะการทำงาน CPC นั้นจะเหมือนกับการทำงานแบบปกติของ Google Search Network เลย จะต่างกันแค่ตรงที่  ของ Google Display Network นั้นจะเป็นในรูปแบบการคลิกอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ ข้อความ หรือแม้กระทั่งวิดิโอนั่นเอง

จ่ายเงินแบบ Cost Per Impression

อีกวิธีคิดค่าใช้จ่ายของ GDN ก็คือ คุณจะจ่ายเงินก็ต่อเมื่อมีการแสดงผลทุก 1 พันครั้ง  หรือที่เรียกว่า CPM (Cost per Impression) โดยที่ไม่มีเงื่อนไข ว่าจะมีคนคลิกหรือไม่อย่างไร แต่จะไปโฟกัสที่ ทุกๆ 1,000 ครั้ง ที่โฆษณาคุณถูกแสดงออกไปนั้น คุณจะเสียเงินทันที ซึ่งการคิดค่าใช้จ่ายแบบนี้ เหมาะสำหรับ เว็บไซต์ หรือสินค้าบริการที่ต้องการสร้าง Brand Awareness หรือสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ให้ได้มากที่สุดนั่นเอง 

เป้าหมายการทำ Google Display Network

การเลือกเป้าหมายในการทำ GDN (Google Display Network) มีอยู่หลายวิธี โดยหลักๆ แล้วสามารถแบ่งได้ 4 วิธี ประกอบด้วย

Topic Targeting

 

 

เป็นการลงโฆษณาแบบเลือกกลุ่มเป้าหมาย ตามหัวข้อที่พวกเขาสนใจ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นสินค้าเป็นประเภทเครื่องสำอาง สามารถทำได้โดยกำหนดการแสดงโฆษณาไปในกลุ่มเว็บไซต์เกี่ยวกับเครื่องสำอางและความงาม ทั้งนี้ เราไม่สามารถเลือกเจาะจงเว็บไซต์ได้ เว็บไซต์ที่แสดงโฆษณาจะเป็นการเลือกแบบ Random

Placement Targeting

การลงโฆษณาแบบเจาะจงเว็บไซต์เป้าหมายที่จะให้โฆษณาไปแสดง อาจเป็นเว็บไซต์ที่เป็นฐานกลุ่มลูกค้า หรือเลือกเว็บไซต์ที่มีการเข้าถึงเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างคือ หากสินค้าของคุณคือส่วนประกอบรถยนต์ การจะเลือก Placement Targeting ที่เป็นเว็บไซต์ชื่อดังเกี่ยวกับรถยนต์ เช่น one2car.com

Keyword Contextual Targeting

การลงโฆษณาบนเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ Keyword ของเรา ยกตัวอย่างเช่น หากเรากำหนดให้โฆษณาไปแสดงในเว็บไซต์ที่มี Keyword คำว่า “เครื่องสำอาง” เมื่อมีผู้ใช้ค้นหาด้วย Keyword คำว่า “เครื่องสำอาง” และได้เข้ามายังเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายของ Google ที่มีคำว่า “เครื่องสำอาง” อยู่ในเว็บไซต์ โฆษณาของเราจึงจะถูกนำมาแสดงให้ผู้ใช้คนนั้นๆ เห็น

Remarketing

 

การโฆษณาแบบติดตามเพื่อดึงให้ลูกค้ากลับมา หลักการทำงานของ Remarketing คือ เมื่อผู้ใช้เข้าไปในหน้าเว็บไซต์ที่มีการฝังโค้ดของ Remarketing จากนั้น Browser ก็จะจดจำ Cookie เอาไว้ เมื่อผู้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่เป็นเครือข่ายของ Google โฆษณาของเว็บไซต์ที่มีการการฝังโค้ดของ Remarketing นั้นๆ ก็จะถูกนำมาแสดงให้ผู้ใช้เห็น

สรุป

Google Display Network ก็คือ การลงโฆษณาในรูปแบบ ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วิดิโอ ซึ่งสามารถฝากโฆษณาไว้ได้หลายที่ ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์พันธมิตรกับ Google หรือ แม้กระทั่งเว็บไซต์ที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ ทั้งยังสามารถกำหนดการลงโฆษณา ได้ตามความสนใจ ตามเพศอายุ ได้อีกด้วย

ซึ่งประโยชน์ของการทำ GDN ก็คือ สามารถส่งต่อกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง สร้างการรับรู้แบรนด์ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีจุดเด่นคือ มีความน่าสนใจ ดึงดูดใจกว่าการทำโฆษณาแบบ Google Search Ads อีกด้วย ทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าเป้าหมายในการทำโฆษณาของคุณนั้นต้องการอะไร ไม่ว่าจะเป็น การทำ Remarketing หรือการฝากโฆษณาไปกับเว็บไซต์ที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ หรือการฝากโฆษณาไปกับเว็บไซต์ที่กลุ่มเป้าหมายค้นหา

รู้จัก Google Display Network กันมาพอสมควรแล้ว ก็ขอให้เจ้าของธุรกิจทั้งหลาย กลับไป คิดวิเคราะห์ ว่าเป้าหมายการทำโฆษณาของคุณคืออะไร และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เจ้าตัว GDN จะสามารถพาธุรกิจของคุณไปได้ไกลยิ่งกว่าเดิม