หยุดทำโฆษณาแบบคิดไปเอง! หาโฆษณาที่ลูกค้าชอบ ลงทุนให้ถูกทาง ด้วยการทำ A/B Testing
สำหรับทุกธุรกิจที่กำลังหัดทำ Google Ads อยู่นั้น คุยเคยทำโฆษณาแบบคิดไปเองหรือเปล่า? เคยเดาไปเองหรือไม่ ว่าทำแบบนี้ผู้ชมเว็บไซต์ต้องชอบแน่ๆ หรือเลือกไม่ได้ ก็ใช้แนวทางที่ตัวเองถูกใจไว้ก่อน หากคุณกำลังทำสิ่งเหล่านี้แล้วล่ะก็ ให้หยุดทำเสียตั้งแต่ตอนนี้ เราทราบดีว่าคุณกำลังไม่มีแนวทางในการทำโฆษณาที่ชัดเจนเสียเท่าไหร่
วันนี้ KODSANA.COM จึงขอพามาทำความรู้จัก กับ การทำ A/B Testing หรือเรียกง่ายๆ ว่าการทดสอบโฆษณา เป็นสิ่งที่ทำแล้วคุณจะพบกับกลยุทธ์ที่ใช่ โฆษณาที่ตรงใจ และการลงทุนที่คุ้มค่าสูงสุด ไม่ถูกใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์ จะมีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง และสามารถพัฒนาโฆษณาของคุณได้อย่างไรบ้าง ตามมาอ่านกันเลย
Devopedia.org
A/B Testing หรือที่บางคนเรียกว่า Split Testing นั้น คือ กระบวนการทดสอบ ทดลอง การเปรียบเทียบทางการตลาดออนไลน์ชนิดหนึ่ง ที่เราไม่สามารถตัดสินใจ ว่าทำแบบไหนถึงจะดีกว่ากัน หลักการง่ายๆ คือ สร้างสองสิ่งที่มีตัวแปรต่างกัน แต่เป้าหมายเหมือนกันขึ้นมา แล้วให้เวลากับมัน ให้มันได้ทดลองทำงาน ทดสอบผลลัพธ์ด้วยตัวของมันเอง เมื่อผลทดสอบออกมา แล้วตัวแปรได้ที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้มากกว่ากัน นั่นหมายถึงว่า ตัวแปรนั้นประสบความสำเร็จ และตัวแปรอีกตัว ก็จะถูกหยุดการทำงานลงนั่นเอง ตัวอย่างการทำ A/B Testing บน Google Ads เช่น ทดลองเปรียบเทียบแบนเนอร์โฆษณา , ทดลองเปลี่ยนวิธีการกำหนดกลยุทธ์เสนอราคา , ทดลองใช้คำโฆษณาไม่เหมือนกัน เป็นต้น ซึ่งกระบวนการ A/B Testing สามารถนำมาทำได้หลากหลายรูปแบบในปัจจุบันเช่น การทดสอบประสิทธิภาพ E-mail, Landing Page, Layout, Copy ปุ่ม และ Experience ต่าง ๆ
explwebsolns.blogspot.com
การทำ A/B Testing เรียกได้ว่าสำคัญชนิดขาดไปไม่ได้เลยทีเดียวในปัจจุบัน เพราะการวัดผลตรวจสอบเปรียบเทียบนั้น จะทำให้คุณโฆษณาของคุณมาถูกทาง และตรงใจว่าที่ลูกค้าที่สุด แถมใช้ทำให้สามารถใช้งบประมาณได้ถูกที่ถูกทาง คุ้มค่าสูงสุดอีกด้วย ทำให้คุณไม่ต้องมาเสียเงินกับการนั่งเดา ว่าโฆษณาแบบไหนดีที่สุด ยิ่งสำหรับธุรกิจไหน ที่มีลักษณะเป็น E-Commerce แล้วล่ะก็ การทำ A/B Testing จะมีประโยชน์ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะต่อการทำโฆษณาแบบแบนเนอร์ หรือต่อตัวสินค้าเอง เพราะจะสามารถช่วยทำให้เกิดจำนวน Conversion Rate หรือจำนวนการปิดการขาย นำไปสู่ยอดขายถล่มทลายได้อีกด้วย และการทำ A/B Testing นั้น ก็สามาถรถทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน สามารถทำได้ทันทีจากการเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ชมเว็บไซต์ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ เพื่อตั้งสมมติฐาน ว่าจะทำอย่างไร เพื่อสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ หรือ โฆษณาให้ดีขึ้น
help.vwo.com
จริงๆ แล้วหลายๆเว็บไซต์ อาจจะเคยทำ A/B Testing กันมาบ้าง เพียงแต่ไม่ทราบว่านี่แหละ ที่คุณกำลังทำอยู่เขาเรียกว่า A/B Testing อ่านมาถึงตรงนี้ จึงเกิดคำถามในหัวกันขึ้นมาบ้าง ว่าแล้วแบบไหนถึงเรียกว่าเรากำลังทำอยู่ล่ะ? หากยังไม่แน่ใจ ให้ลองศึกษา องค์ประกอบที่จะทำให้เกิดการทำ A/B Testing หลักๆ แล้วมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน ดังนี้
แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นการตลาดรูปแบบไหน ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ หรือจะใช้ช่องทางไหนก็ตามแต่ คุณจำเป็นจะต้องตั้งเป้าหมาย หรือ Goal เอาไว้ เพื่อให้การพัฒนาได้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ ให้ได้ หาให้ได้ว่าเราจะทดสอบเพื่อเป้าหมายอะไร อะไรคือสิ่งที่เราต้องการพัฒนาให้ดีขึ้นหลังจากการทำ A/B Testing ตัวอย่างเช่น คุณตั้งเป้าหมายคือการเพิ่ม CTR ให้กับโฆษณา พอมีเป้าหมายชัดเจนแล้ว ก็จะไปต่อกันที่องค์ประกอบต่อไปของการทำ A/B Testing
Variable หรือที่เรียกง่ายๆ ว่าตัวแปร จากด้านบนเมื่อมีเรามีเป้าหมายแล้ว ว่าวัตถุประสงค์ของการทำโฆษณาของเราคืออะไร ในตัวอย่างคือ เราต้องการเพิ่ม CTR ให้กับโฆษณา แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะ ให้ CTR เพิ่ม การทำโฆษณาแบบทั่วไป เราก็คงจะเพิ่มนู่นนั่นนี่ ให้ CTR เพิ่มสูงสุด แต่ถ้าเป็นการทำ A/B Testing แล้วล่ะก็ คุณจะต้องกำหนดตัวแปรขึ้นมา 1 ตัว แต่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป แล้วหาว่าอะไรจะทำให้ โฆษณาของคุณมี CTR ที่ดีกว่ากัน ในที่นี้อาจจะเป็นการทดสอบข้อความโฆษณา 2 แบบ เช่น แบบใส่โปรโมชั่น กับแบบปกติ
Examples หรือกลุ่มตัวอย่างนั้น หมายถึง การแบ่งคนที่เข้าเว็บไซต์ โดยการแบ่งให้เท่าๆ กันในแต่ละ Variation ซึ่งตัวอย่างของการแบ่ง Examples ง่ายๆ นั้น ก็สามารถทำได้ง่ายๆ สำหรับใน Google Ads แล้วนั้น การแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่สะดวกที่สุด เราขอแนะนำเป็นการทำ Drafts & Experiments เป็นการแบ่งงบประมาณออกมาครึ่งนึง เพื่อร่างแคมเปญที่คุณต้องการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบข้อความโฆษณา หรือทดสอบการเปลี่ยน Bid Strategy ฯลฯ ซึ่งวิธีนี้ ก็จะทำให้กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กัน
การที่เราทำการตลาดออนไลน์ แล้วยังไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ อาจเป็นเพราะเราตัดสินใจโฆษณาจากความรู้สึกของเราเอง แต่ถ้าใช้ A/B Testing คือการช่วยเราหาผลลัพธ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง พร้อมวิธีปรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือ Bounce Rate คือการเข้าชมแล้วปิดหน้าเว็บไซต์ทันที่ เกิดจาก เว็บไซต์ไม่ตรงตามสิ่งที่เขาค้นหา เว็บไซต์ไม่น่าสนใจ การโหลดเว็บไซต์ที่นานเกินไป ซึ่งการทดสอบ A/B Testing ทำให้มองเห็นปัญหา จุดอ่อนที่เกิดขึ้นของเว็บไซต์ เพื่อในสามารถปรับปรุง พัฒนาเว็บไซต์ของเราให้ดีมากขึ้น
A/B Testing เป็นการเปลี่ยนตัวแปรที่เราต้องการทดสอบความแตกต่าง แต่ยังมีเป้าหมายเดิม เพื่อค้นหาวิธีการที่ให้ผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด การที่หาวิธีที่เหมาะสมกับผู้เข้าชม เมื่อเว็บไซต์ตรงกับการค้นหาที่ผู้เข้าชมต้องการ เว็บไซต์น่าสนใจมีประโยชน์ ก็จะสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เข้าชม ทำให้จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้น
การที่เราทำการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์เองโดยไม่มีการทดสอบก็จะทำให้ต้องปรับปรุงบ่อยๆ เพราะต้องทำให้ตรงกับการตลาด ณ เวลานั้น แต่การปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ รูปแบบต่างๆ ที่บ่อยเกินไปก็ไม่ดีเท่าไหรนัก เพราะหมายถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ควรทำ A/B Testing ที่ทดสอบเพียงไม่กี่ครั้งแต่ก็ทราบถึงผลลัพธ์ที่เหมาะสมตอบโจทย์กับผู้ใช้งานตั้งแต่ตอนแรก
การทำ A/B Testing สามารถช่วยจัดเรียงการวาง CTA (Call to Action) ว่าตรวงไหนเหมาะสมที่ผู้ใช้งานจะคลิ๊กเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับธุรกิจเรา ทำให้ช่วยลดทรัพยากรที่ไม่จำเป็นในการทำโฆษณา แคมเปญ การเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ เพื่อให้ใช้กับตัวเลือกที่ส่งผลลัพธ์ตามที่เราต้องการกับผู้ใช้งาน ก็จะทำให้เว็บไวต์ตรงกับผู้ใช้งานเข้ามาในเว็บไซต์มากขึ้น ลดจำนวนการปิดเว็บไซต์ ภาพลักษณ์ของธุรกิจที่ดีมากขึ้น ก็จะทำให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้น จากการทดสอบที่มีประสิทธิภาพ
A/B Testing จะมีรูปแบบในการทดสอบ ซึ่งสามารถแบบได้ 3 ประเภทดังนี้
A/B Testing รูปแบบแรก เหมาะกับการที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์มาก ต้องการเปลี่ยนแค่บางส่วน จึงเป็นการทดสอบเพียง 1 ตัวแปร เรียกว่า Split URL Testing เช่น การเปลี่ยนสี รูปภาพ หัวของเว็บไซต์ โดยจะเว็บไซต์เป็น 2 URL เป็น URL A , URL B เพื่อวัดว่าการจัดวางนรูปแบบไหนของเว็บไซต์ที่ให้ผลลัพธ์ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจเรา
A/B Testing รูปแบบที่สอง เหมาะกับผู้ที่เชี่ยวชาญในการทำการตลาด การวิเคราะห์ผลการทดสอบ เป็นการทดสอบหลายตัวแปรพร้อมกัน ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้ง หัวข้อ ภาพ สี ต่างๆ เพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ที่เข้ากับธุรกิจและผู้เข้าชมเว็บไซต์
A/B Testing รูปแบบที่สุดท้าย เหมาะกับการปรับหลายหน้าเว็บไซต์ โดยสามารถทดสอบได้ 2 รูปแบบ
ทราบกันไปแล้วว่า การทำ A/B Testing นั้น จริงๆ แล้วมีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง แต่หากใครที่ยังไม่เข้าใจว่าแล้ว ขั้นตอนมันทำอย่างไรล่ะ ลองอ่านขั้นตอนการทำ A/B Testing ได้จากข้างล่างนี้เลย
ขั้นตอนแรกของการทำ A/B Testing เลยก็คือ การกำหนดวัตถุทางธุรกิจ เช่น อยากเพิ่ม CTR ให้กับโฆษณา , อยากเพิ่ม Conversions Rate ฯลฯ ทำไมต้องตั้งวัตถุประสงค์ก่อน? เพราะหากคุณไม่ได้กำหนดจุดมุ่งหมายไว้แต่แรก แล้วเราจะสามารถวัดผลได้อย่างไร? ว่าการทำ A/B Testing ของคุณ นั้นสามารถบรรลุคเป้าหมายได้หรือไม่ ดังนั้น ก่อนอื่นเลยให้คุณวิเคราะห์ออกมาให้ได้ก่อน ว่าเป้าหมายที่แท้จริงของคุณนั้น คุณต้องการให้มันประสบผลสำเร็จไปในทางไหน แล้วก็กำหนด ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ที่สำคัญคือ เป้าหมายไม่ควรจะมีเกินหนึ่งสิ่ง เพราะอาจจะทำให้การพัฒนาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
จากนั้นให้คุณทำการสำรวจเว็บไซต์ของตัวเอง และค้นหาให้เจอว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีปัญหา และต้องการการทดสอบแก้ไขเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แต่สิ่งที่ทำคือ ไม่ใช่เข้าไปที่เว็บไซต์ แล้วนั่งวิเคราะห์ หรือเดาด้วยตัวเองนะ เพราะการสำรวจปัญหาที่แท้จริง เราต้องวิเคราะห์ด้วยข้อมูลของผู้ชมเว็บไซต์ ศึกษาพฤติกรรมของพวกเขา ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ชมเว็บไซต์ได้อย่างดีเลยก็คือ Google Analytics ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาเช่น การหาหน้าเว็บไซต์ที่มี Bounce Rate สูงๆ คนที่เข้ามาเว็บไซต์หน้าไหนแล้ว ออกจากเว็บไปโดยไม่ดูหน้าอื่นต่อ เช่น ถ้าคนเข้ามาดูหน้า Landing Page แล้ว แต่ไม่คลิกไปหน้าอื่นต่อเลย แสดงว่า ควรจะทำ A/B test ที่หน้า Landing Page ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะ Bounce Rate สูง
เมื่อทราบแล้วว่าตรงไหนคือจุดด้อย หรือจุดที่เว็บไซต์คุณจะต้องปรับปรุง ขั้นตอนต่อไปเลยก็คือ ให้คุณลองตั้งสมมติฐาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย เช่น คุณต้องการเพิ่ม Conversions Rate แล้วคุณไปวิเคราะห์มาแล้ว ว่าปุ่มกดโทรของคุณอาจจะไม่ดึงดูดใจมากพอให้ลูกค้ากดโทรเข้ามา สมมติฐานของคุณก็คือ ลักษณะไอคอน หรือ ข้อความเจ๋งๆ ที่จะสามารถทำให้ลูกค้าอยากคลิกปุ่มโทร อันนำไปสู่การเพิ่ม Conversions Rate นั่นเอง จากนั่นก็ทำการทดสอบสมมติฐาน ด้วยการสร้างตัวแปรที่สอดคล้องกับสมมติฐาน และทำ Landing Page ออกมาเป็นสองแบบคือ ปุ่มโทรแบบไอคอน อีกแบบเป็นปุ่มโทรแบบใช้ข้อความ และทั้งหมดนี้ ก็เป็นการทดสอบสมมติฐานนั่นเอง ว่าแบบนี้ใช่ที่สุดสำหรับเว็บไซต์คุณ
เมื่อคุณเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การทดสอบจริง ซึ่งก็ใช้ตัวทดสอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้จากข้อด้านบน ที่สมมติฐานของคุณคือ ปุ่มแบบไหน ที่ผู้ชมเว็บไซต์จะคลิกมากที่สุด การทดสอบก็สามารถทำได้คือ แบ่งหน้า Landing Page ออกเป็นสองแบบ คือแบบปุ่มไอคอน และแบบข้อความ ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำได้ด้วยการใช้เมนู Drafts & Experiments ใน Google Ads เข้าช่วย จากนั้นก็ทำการกำหนดเวลา ว่าจะทดสอบสมมติฐานนี้ เป็นเวลานานเท่าไหร่นั่นเอง
ขั้นตอนสุดท้ายเลยก็คือ ดูผลลัพธ์จากตัวแปรที่คุณสร้างขึ้นมา และทำการวิเคราะห์ว่า ตัวแปรไหน ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากกว่ากัน เช่น มีผู้เข้าชมเข้ามากดคลิก Conversions ของแคมเปญไหนที่สูงกว่ากัน พอหลังจากทราบแล้วว่าตัวแปรไหนดีที่สุด ขั้นตอนต่อไปคือ Apply การทดสอบนี้ ให้กลายเป็นแคมเปญปกติ แต่ก็มีหลายการทดสอบเช่นกัน ที่แทบไม่เห็นความแตกต่าง หรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของแคมเปญ ดังนั้นหากแคมเปญทดสอบของคุณ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่าสมมติฐานของคุณยังไม่ถูกต้องเสียทีเดียว และคุณจำเป็นต้องกลับไปสู่ขั้นตอนที่ 3 เพื่อตั้งสมมติฐานใหม่และลองใหม่เพื่อหาสาเหตุที่จะสามารถทำให้คุณบรรลุเป้าหมายได้นั่นเอง
neilpatel.com
Bounce Rate หรืออัตราที่ผู้ชมคลิกเข้าชมเว็บไซต์ แล้วปิดหน้าเว็บไซต์ลงอย่างงทันที สาเหตุจากหลายๆ ทางเช่น เว็บไซต์ไม่มีความน่าสนใจ เว็บไซต์ไม่มีสิ่งที่พวกเข้าต้องการ หรือแม้กระทั่งการเว็บไซต์ช้า ซึ่งการที่เราได้ทดลองทำ A/B Testing ทำให้เราสามารถเห็นได้ว่า จริงๆ แล้วจุดอ่อนของเว็บไซต์เราคืออะไรบ้าง นำไปสู่การพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้ตอบสนองต่อผู้ใช้งานสูงสุด เพื่อพบแล้วว่าปัญหาคืออะไร แล้วทำการแก้ไข เพียงเท่านี้ก็สามารถลดอัตรการปิดเว็บไซต์ทันที ได้อย่างไม่น่าเขื่อ
wetraffi.com
อย่างที่กล่าวไปว่า การทำ A/B Testing นั้น เราสามารถที่จะเทสต์อะไรก็ได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโฆษณา หากคุณลองโฟกัสไปที่ การเพิ่มจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ ขั้นตอนต่อไปก็คือ คุณต้องมานั่งวิเคราะห์ หาว่าองค์ประกอบไหนน่าจะได้ผลตอบรับดีที่สุด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีที่สุด หรือตัวแปรไหน ที่มีผลต่อการเข้าชมเว็บไซต์ เมื่อได้แล้วว่าจะใช้อะไรทดสอบ จากนั้นก็นำผลทดสอบ ไปปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาประสิทธิภาพของเว็บไซต์ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ชมสูงสุด เพียงเท่านี้ คุณก็จะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ชมเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย
Analytist.co
แน่นอนว่าในการทำ A/B Testing เราสามารถกำหนดวัตถุประสงค์เป็นการเพิ่ม Conversions Rate ได้ ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของคุณที่ต้องมาวิเคราะห์ต่อว่า จะทำอย่างไร ให้ว่าที่ลูกค้าของคุณ กระทำการให้เกิด Conversions สูงสุด หากคุณยังไม่ถนัดเรื่องวิเคราะห์มากนัก อาจจะใช้วิธีง่ายๆ อย่างปล่อยให้ระบบทำงาน เช่น การตั้งค่า Bid Strategy แบบ Maximize Conversions หมายถึงว่า Google จะพยายามหาผู้ชมเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มจะกระทำการให้เกิด Conversions นั่นเอง จะการทดสอบของคุณทำแล้วมันเกิดได้ผล และเวิร์คนั้น Conversions Rate ของโฆษณาคุณ ก็จะสูงขึ้นแบบไม่น่าเชื่อเลยทีเดียวล่ะ
จะเห็นได้อย่างชัดเจน ว่าการทำ A/B Testing นั้น สามารถทำให้ธุรกิจของคุณนั้น เลือกลงทุนงบประมาณได้ถูกทางมากขึ้น สามารถเลือกแนวทาง หรือโฆษณาที่ใช่ให้กับลูกค้าได้ ทำให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าสูงสุด และไม่เสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์อีกด้วย นอกจากจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแล้วนั้น ยังสามารถวอเคราะห์ เรียนรู้ผลทดสอบ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการทำงาน ในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องไม่หยุดพัฒนา และไม่หยุดทดสอบ เพราะการทำ A/B Testing ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการพัฒนาของเทคโนโลยี รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลานั้น ทำให้ในทุกธุรกิจ ล้วนมีช้องว่าง ที่ไว้คอยให้ปรับปรุงพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโฆษณาอยู่เสมออีกด้วย